Friday, January 25, 2013

การวางระบบน้ำในแปลงนา สุดยอดจริงๆ

บันทึกชาวนาวันหยุด ตอนที่ 3 ว่าด้วยการวางระบบ การจัดการน้ำในเเปลงนา อย่างมีประสิทธิภาพ 

เป็นชาวนาวันหยุด มาเรียนรู้และปฏิบัติ เพิ่มเติม นอกจากจะมา เพาะต้นกล้า ดำนาปลูกข้าว  แล้วต้องเรียนรู้ แบบบูรณาการเรื่องอื่นๆ ด้วยครับ ตอนนี้นำเสนอ

"เรื่องการจัดการน้ำ" ครับ  


ข้อมูลที่เคยได้รับไม่แน่ใจว่าเปลี่ยนเเปลง ไปหรือยัง สำหรับ พื้นที่นาข้าวที่มีระบบชลประทาน รองรับ

-ประเทศไทย ประมาณ ร้อยละ 25 (น้ำมาก-ท่วม น้ำน้อย-ก็เเห้งแล้ง)

-ประเทศพม่า ประมาณ ร้อยละ 50 (เคยเป็นประเทศส่งออกข้าวอันดับ 1 และกำลังกลับมาในอีกไม่เกิน 5 ปีข้างหน้า)

-ประเทศเวียดนาม ประมาณ ร้อยละ 80 

-ประเทศญี่ปุ่น ประมาณ ร้้อยละ 90 

การเพิ่มผลผลิตของข้าว (ตันต่อไร่) คือ การได้รับการจัดสรรน้ำ อย่างถูกที่ ถูกเวลา เป็นปัจจัยต้นๆ

ด้วยระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพ ลองเข้าไปศึกษาผลผลิตต่อไร่ ของแต่ละประเทศ ก็จะสอดคล้องกับร้อยละของชลประทาน ในพื้นที่นาข้าว ครับ (ลองค้นหาดูครับ)



 ข้อมูลเพิ่มเติม "ปริมาณการใช้น้ำของข้าวของไทย" ไปศึกษาได้ที่ ข้อมูลกรมชลประทาน 

 


       

      บางพื้นที่ไม่เอื้ออำนวยเรื่องน้ำ ก็ต้องเอาตัวรอด หรือเพาะปลูกพืชให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มี  สำคัญคือ การช่วยตัวเองได้ในระดับพื้นฐาน ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง 


      ที่เเปลงนา นี้ เเปลงนาลุงมี ข้อจำกัด คือ อยู่นอกเขตชลประทาน ต้องใช้น้ำบาดาล สำหรับการปลูกข้าว ปัญหาที่ตามมาคือ ธาตุอาหารไม่เพียงพอ(ไม่เหมือนน้ำเหมือง น้ำคลอง น้ำแม่น้ำ เเหล่งน้ำธรรมชาติผิวดิน) และต้นทุนการสูบน้ำสำหรับการทำนาที่ผ่านมาสูงมาก ... 

      แต่ไม่ได้คิดว่าเป็นปัญหา เพราะทุกอย่างต้อง วางเเผน จัดการป้องกันปัญหา 



หลักการ :ออกแบบระบบน้ำในเเปลงนาลุงมี

 

1.ต้องพึ่งพาตัวเองได้ในเรื่องน้ำ  



2.น้ำต้องมีธาตุอาหารเพียงพอสำหรับข้าว(สูบน้ำบาดาล ลงนาโดยตรงข้าวไม่ค่้อยแตกกอ) ->ต้องมีการพัก และปรุงน้ำ ก่อนปล่อยลงนา 



3.ลดการใช้พลังงานในสูบน้ำ สามารถใช้แรงโน้มถ่วงในการควบคุมน้ำได้



4.ต้องมีการหมุนเวียนของระบบน้ำในเเปลงนา



5.มีพื้นที่การเก็บน้ำ จากน้ำฝนเพียงพอสำหรับการปลูกข้าว 



6.เพิ่มพืชคลุมหน้าดิน ต้นไม้ใหญ่ เพื่อสร้างความชุ่มชื้น และอาศัยการร่วงหล่นของใบ มาเป็นปุ๋ยหมักธรรมชาติ ในคลองน้ำ 

(อยู่ระหว่างการหาต้นทองหลางกินใบมาปลูกริมคลองน้ำ ครับ)



นอกเหนือจากนี้ ก็คือการ นำระบบ "เปียก-สลับ-เเห้ง" แกล้งข้าว Altinate Wetting and Drying มาปรับใช้ เพื่อลดการใช้ ทรัพยากรน้ำ ในการปลูกข้าว โดยไม่กระทบกับผลผลิตข้าวด้วย ...

    รูปภาพประกอบ ...
เป็นแบบภาพประกอบอธิบาย ใช้หลักจัดการแปลงนาเเบบขั้นบันไดและการหมุนเวียน น้ำในเเปลงนา   
บ่อพักน้ำด้านหน้า 
ด้านหน้าขวามือของเเปลงนา ฝูงเป็ด กำลังเล่่้นน้ำ
เเปลงนาด้านขวา กำลังหมักฟางข้าว
ต้นมะม่วงริมเเปลงนา ออกลูกกินได้ รักษาความชุ่มชื้นหน้าดิน 
บ่อพักน้ำท้ายนาก่อนนำ น้ำกลับ
ภาพจากด้านท้ายเเปลงนา
พื้นที่ว่าง กำลังหา "ต้นทองหลางกินใบ" มาปลูกริมคันคลอง  
บ่อน้ำด้านหน้า เลี้ยงปลากินพืชไว้ หลายชนิดครับ ตอนนี้ตัวยังไม่พอดีจาน ต้องเก็บไว้รอ>>> พร้อมเกี่ยวข้าว คร้าบบ

ท่านใดมีประสบการณ์ วางระบบน้ำในเเปลงนา มาเเลกเปลี่ยนกันได้นะครับ 

ชาวนาวันหยุด ตอนต่อไป : ลงแขกดำนา แบบร่วมสมัยครับ 




ดาวเรืองมีประโยชน์ กับระบบนาข้าว  อย่างไร??? 




ที่มา: http://www.gotoknow.org

0 comments:

Post a Comment